วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของเครื่องฉาย

หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลอดชนิดที่เรียกว่า หลอดฮาโลเจน (Halogen) ซึ่งเป็นหลอดขนาดเล็ก กินไฟน้อย แต่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบเก่า ขนาดตามกำลังไฟฟ้าของหลอดฉาย มีตั้งแต่ 150 W จนถึง1,000 W ในเครื่องฉายสไลด์ มักใช้ขนาด 150 W 250 W และ 300 W เครื่องฉายแผ่นใส อาจใช้ขนาด 250 W, 650 W


  หลอดฉายในเครื่องฉายดิจิตอล ของ BenQ


 แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมแบบก้นกะทะ ฉาบด้วยวัสดุสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงของหลอดฉายให้พุ่งออกเป็นลำแสงขนานไปในทิศทางเดียวกันหลอดฉายบางชนิดจะมีส่วนที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงติดอยู่ด้วย






 เลนซ์รวมแสง(Condenser Lens) เป็นชุดของเลนซ์นูน ทำหน้าที่รวมหรือบีบลำแสงให้มีความเข้มสูงไปผ่านที่วัสดุที่จะฉาย ในเครื่องฉายบางแบบ เช่น เครื่องฉายวัสดุทึบแสงไม่มีเลนซ์ชนิดนี้ เนื่องจากเครื่องฉายวัสดุทึบแสงใช้วิธีการฉายแบบสะท้อน   
แผ่นกรองความร้อน (Heat Filter/Heat absorbing glass) ป้องกันความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ตกกระทบเลนซ์ และวัสดุฉายมากเกินไป
  5 เลนซ์ฉายภาพ (Projection Lens) เป็นชุดของเลนซ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเลนซ์นูน ทำหน้าที่บังคับแสงที่ผ่านมาจากวัสดุฉายให้ปรากฏที่จอ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมการปรับความคมชัดของภาพบนจอที่เรียกว่าปรับโฟกัสจะปรับที่เลนซ์ตัวนี้ บางครั้งจึงมีผู้เรียกเลนซ์นี้ว่า เลนซ์โฟกัส(Focusing Lens) ภาพที่ผ่านเลนซ์นี้ไปปรากฎบนจอจะเป็นภาพกลับดังนั้น เพื่อให้ฉายภาพได้เป็นภาพปกติการใส่วัสดุฉายจึงต้องกลับหัวลง



       เลนซ์เกลี่ยแสง (Freshnel Lens) มีใช้ในเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสเท่านั้น ทำหน้าที่คล้ายกับเลนซ์รวมแสง ช่วยรวมแสงร่วมกับเลนซ์รวมแสง และช่วยเกลี่ยแสงให้ผ่านแผ่นโปร่งแสงซึ่งมีขนาดใหญ่ได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น



7. พัดลม (Fan) ใช้สำหรับการระบายความร้อนออกจากเครื่องฉาย ถ้าพัดลมเกิดชำรุดอาจทำให้เครื่องฉายเสียหายได้ง่าย ในเครื่องฉายบางชนิด เช่น เครื่องฉายแผ่นโปร่งใสอาจมีส่วนควบคุมการทำงานของพัดลมอัตโนมัติ คือพัดลมจะทำานอัตโนมัติเมื่อเครื่องร้อน ถ้าเครื่องยังไม่ร้อน พัดลมจะหยุดการใช้เครื่องฉายบางชนิดหลังจากปิดฉายแล้วมีความจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไว้ก่อน 2-5 นาที เพื่อให้พัดลมระบายความร้อน